แม้สถานการณ์เศรษฐกิจในไทย ยังถือว่ายังไม่มีการฟื้นตัวซักเท่าไหร่ แต่ก็มีรายงานว่าดัชนีที่ดินเปล่านั้นมีการเพิ่มขึ้น วันนี้เราเลยนำ 5 อันดับที่ดินติดรถไฟฟ้า มาให้ทุกนดูกันว่าจะมีที่ไหนกันบ้าง รายงานจาก DDproperty Thailand Property Market Index ได้เผยดัชนีที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพ-และปริมณฑล ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีค่าดัชนีเท่าเท่ากับ 308.6 เพิ่มขึ้น 5.2 % เทื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ ที่มีดัชนี 293.3 และปรับขึ้น 30.3 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 5 อันดับที่ดินติดรถไฟฟ้า ที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาที่ดินเปล่า ก่อนการพัฒนาในไตรมาสนี้ ทำเลที่มีการเพิ่มขึ้นมากกว่าทำเลอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่ปลายสายรถไฟฟ้า ที่เป็นส่วนต่อขยายและมีแผนจะก่อสร้างในอนาคต โดยทำเลที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่าน 5 อันดับแรกที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ได้แก่ 1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (คูคต-ลำลูกกา) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของสายสีเขียว (หมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต) ในอนาคตภาครัฐยังมีแผนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว คูคต-ลำลูกกา เป็นเส้นทางเพิ่มเติมอีก 4 สถานี คือ สถานีคลอง 3 , สถานีคลอง 4 , สถานีคลอง 5 และสถานีวงแหวนตะวันออก ซึ่งได้ออกแบบแล้วเสร็จและผ่าน EIA แล้ว หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงคาดว่าจะได้เริ่มก่อสร้างและมีกำหนดเปิดให้บริการประมาณปี 2565 ไตรมาส 2 ปี 63 เปิดให้บริการ 4 สถานี ได้แก่ สถานีกรมป่าไม้สถานีบางบัว สถานีกรมทหารราบที่ 11 และสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ส่งผลให้ราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 61.4% และเป็นทำเลที่มีการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินมากที่สุดต่อเนื่องมา 5 ไตรมาส 2. รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มีความคืบหน้าการก่อสร้างโดยรวมอยู่ที่ 57% มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 53.6% โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการโดย บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการกำหนดให้ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) เป็นระบบหลัก และเป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ในระยะแรกโครงการดังกล่าวมีระยะทางรวมทั้งสิ้นเพียง 27 กิโลเมตร โดยมีสถานีต้นทางอยู่ที่บริเวณแยกปากเกร็ด แต่ต่อมาได้มีการขยายแนวเส้นทางมาตามแนวถนนติวานนท์ และย้ายต้นทางจากแยกปากเกร็ดมายังแยกแคราย เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ทำให้เส้นทางของโครงการไปเริ่มต้นที่หน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ย่านมีนบุรี ระยะทางรวมประมาณ 34–36 กิโลเมตร ตอนนี้กำลังก่อสร้างอยู่ คาดว่าจะทยอยเปิดให้เดินทางในเส้นทางหลักในปี 2564 3. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาเพิ่มขึ้น 28.5% สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 เป็นหนึ่งในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของ และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้รับสัมปทาน มีจุดเริ่มต้นจากสถานีหลักสอง ยกระดับไปตามเกาะกลางของถนนเพชรเกษม สิ้นสุดที่รอยต่อระหว่างเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร และเทศบาลนครอ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร 4. รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 26.5% สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร มีสถานีบ้านฉิมพลี, สถานีกาญจนาภิเษก, สถานีศาลาธรรมสพณ์ เป็นสถานีระดับดิน และสถานีศาลายา เป็นสถานียกระดับ รองรับรถไฟทางไกล 5. รถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ (สมุทรปราการ-บางปู) ที่มีแผนจะก่อสร้าง และสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ซึ่งสร้างเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 23.1% รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู เป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่อีกสายที่มีแผนจะก่อสร้างและเปิดให้บริการในอนาคตอันใกล้นี้ ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 ได้มีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 8
Continue reading