วัคซีนที่จำเป็นมีอะไรบ้าง ที่ควรฉีดเพื่อปกป้องให้ห่างจากโรคภัย

วัคซีนที่จำเป็นมีอะไรบ้าง ที่ควรฉีดเพื่อปกป้องให้ห่างจากโรคภัย

วัคซีนที่จำเป็นมีอะไรบ้าง ที่ควรฉีดเพื่อปกป้องร่างกายให้ห่างจากโรคภัย การฉีดวัคซีน คือการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย จุดประสงค์ในการฉีดวัคซีนนั้นก็เพื่อป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับคนทุกวัย โดยสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงช่วงอายุ 1 ปีนั้น จะยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดีพอในการต่อต้านเชื้อโรคต่าง ๆ ถ้าหากได้รับเชื้อโรคอันตรายก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนผู้ใหญ่และผู้สูงอายุก็จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนด้วยเช่นกัน เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเป็นโรคต่าง ๆ สูง และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย

วัคซีนที่จำเป็นมีอะไรบ้าง 

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

ควรให้ในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป หากฉีดในเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน หากเริ่มให้ในเด็กที่อายุมากกว่า 9 ปี ให้ฉีด 1 เข็ม จากนั้นฉีดซ้ำปีละ 1 ครั้ง

ห้ามให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในคนที่แพ้ไข่แบบรุนแรง ผู้ที่เจ็บป่วยเฉียบพลัน ผู้ที่เป็น Guillain Barre Syndrome ภายใน 6 สัปดาห์ และผู้ที่มีอาการรุนแรงภายหลังได้รับวัคซีนครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดต้องหยุดยาแล้ว 3 สัปดาห์จึงจะให้ได้ หลังจากได้รับวัคซีนอาจจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว หรือปวด บวมแดงบริเวณที่ฉีด

วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ โรคบาดทะยัก โรคไอกรน

ให้วัคซีน 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน แต่ห้ามให้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 สัปดาห์ หรือในเด็กที่มีอายุมากกว่า 7 ปี และผู้ใหญ่ เด็กที่กำลังเจ็บป่วยหรือกำลังมีไข้สูง สำหรับวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ทั้งแบบ whole cell (DTwP-HB) และ acellular (DTaP-HB) ห้ามให้ในผู้ที่มีอาการทางสมองหรือมีโรคทางสมอง

เพราะจะไปกระตุ้นอาการให้เลวลงและกระตุ้นอาการชักได้ ปฏิกิริยาที่พบได้หลังได้รับวัคซีน ได้แก่ ปวด บวม แดงเฉพาะที่ อาจเกิด systemic reaction เช่น มีไข้ ชัก ซึม ตัวอ่อนปวกเปียกไม่ตอบสนอง (HHE) ปฏิกิริยาแพ้ anaphylaxis และ arthus like reaction (ปวด บวม แดงลามมาถึงข้อศอก) เกิดจากการได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักมากเกินไป

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส

ให้ในเด็กอายุ 1-12 ปี 2 เข็ม เข็มแรกฉีดเมื่ออายุ 12-18 เดือน เข็มที่ 2 ให้เมื่อ 4-6 ปี หรือมีการระบาด หากจะฉีดก่อนอายุ 4 ปี ต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อยที่สุด 3 เดือน และถ้าอายุ 13 ปีขึ้นไปให้ 2 เข็ม ห่างกัน 4-8 สัปดาห์ โดยวัคซีนชนิดนี้ห้ามให้ในเด็กที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 เซลล์/ลบ.มม.

ผู้ที่ติดเชื้อ HIV และมีค่า CD4 น้อยกว่าร้อยละ 15 ผู้ที่รับประทานยาสเตียรอยด์ ผู้ที่ได้ plasma หรือ immunoglobulin หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่แพ้ยาปฏิชีวนะ neomycin, kanamycin, erythromycin แบบรุนแรง หลังรับวัคซีนอาจจะมีอาการปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด และมีไข้หลังจากฉีด 5-26 วัน

วัคซีนที่จำเป็นมีอะไรบ้าง ที่ควรฉีดเพื่อปกป้องร่างกายให้ห่างจากโรคภัย

วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ

มี 2 ชนิด ได้แก่ PCV13 ซึ่งครอบคลุมการป้องกันเชื้อ Pneumococcus 13 สายพันธุ์ และ PPSV23 ที่สามารถป้องกันเชื้อได้ 23 สายพันธุ์ ซึ่งควรฉีดทั้ง 2 ชนิด โดยจะฉีด PCV13 จากนั้นอีก 8 สัปดาห์ จะฉีด PPSV23 ซึ่งจะสามารถป้องกันเชื้อ Pneumococcus ได้ครบและนานอย่างน้อย 5 ปี

ควรให้ในผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดโรคปอดอักเสบ ได้แก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ และผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำหรือเป็นโรคหอบหืดเรื้อรัง อาจมีอาการปวดบวมบริเวณที่ฉีดซึ่งมักไม่รุนแรงและหายได้เองใน 2-3 วัน

วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด

ฉีดเพียง 1 เข็ม ครั้งเดียวไม่ต้องกลับมาฉีดอีก สามารถป้องกันได้ตลอดชีวิต ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันงูสวัด ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ทั้งที่เคยเป็นและไม่เคยเป็นโรคงูสวัด หรือโรคอีสุกอีใสมาก่อน ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50-59 ปี ที่เคยมีประวัติเป็นโรคอีสุกอีใสหรือโรคงูสวัดมาก่อน

ส่วนผู้ที่ควรงดรับวัคซีนป้องกันงูสวัด ได้แก่ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง หญิงตั้งครรภ์ มีไข้สูงหรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน โดยหลังรับวัคซีนป้องกันงูสวัดอาจพบอาการปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด ซึ่งมักจะหายเองได้ใน 1-2 วัน

วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก 

ให้ในเด็กผู้หญิงอายุ 11-12 ปี ควรให้ 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1-2 และ 6 ฉีดได้ทั้งสองชนิด ส่วนในผู้ชายฉีดได้ที่อายุ 9-26 ปี ใช้ชนิด quadrivalent สำหรับคนที่มีเพศสัมพันธ์แล้วสามารถฉีดได้แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนอาจลดลง

และไม่แนะนำให้ฉีดในหญิงตั้งครรภ์ หลังฉีดอาจพบอาการปวด บวม คัน บริเวณที่ฉีด ถ้าฉีดเป็นกลุ่มในโรงเรียนให้ระวังภาวะอุปาทานหมู่ อาจเป็นลมหรือรู้สึกอ่อนแรงพร้อม ๆ กันหลายคน

วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ

มี OPV และ IPV ให้หยอด bivalent OPV จำนวน 5 ครั้ง ตอนอายุ 2,4,6,18 เดือนและ 4 ปี สามารถให้เพิ่มในช่วงมีการรณรงค์ได้ ไม่มีผลเสียใด ๆ แต่ห้ามหยอด OPV ในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือเด็กที่มีคนในบ้านมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

ห้ามหยอดในหญิงตั้งครรภ์และเด็กที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ให้ใช้ IPV แทนได้ และห้ามให้ IPV ในคนที่มีภาวะแพ้รุนแรงต่อยาปฏิชีวนะ streptomycin, neomycin และ polymycin B หลังรับวัคซีน OPV มีผลข้างเคียงน้อยมาก ส่วน IPV อาจมีปฎิกิริยาเฉพาะที่ ปวด บวม แดง และมีไข้

วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน

ควรฉีดให้เด็กทุกคนจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกเริ่มที่อายุ 9 เดือน และครั้งที่ 2 อายุ 2 ปีครึ่ง ห้ามให้ในหญิงตั้งครรภ์ คนที่แพ้ neomycin หรือ gelatin แบบ anaphylaxis เด็กที่ปลูกถ่ายไขกระดูกหรือเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เด็กที่ติดเชื้อ HIV ที่มี CD4 น้อยกว่าร้อยละ 15 หรือมี clinical stage C ผู้ที่ได้รับสเตียรอยด์ขนาดสูง (2mg/kg/day) มาแล้วมากกว่า 14 วัน

ผู้ที่ได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด ผู้ที่แพ้ไข่ขาวแบบรุนแรง และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือบกพร่องอย่างมาก หลังฉีดอาจมีปฎิกิริยาเฉพาะที่ ผื่นลมพิษ บริเวณที่ฉีด มีไข้ 5 -12 วันหลังฉีด หรือมีเกล็ดเลือดต่ำ

วัคซีนป้องกันโควิด-19

วัคซีนป้องกันโควิด-19

แม้ตอนนี้หลายประเทศทั่วโลกได้เริ่มทยอยฉีดวัคซีนโควิด-19 นำร่องไปแล้ว แต่สำหรับประเทศไทยซึ่งรัฐบาลได้เริ่มกระบวนการจัดหาวัคซีนมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 นั้น ยังไม่สามารถนำวัคซีนมาฉีดให้กับประชาชนได้ โดยตามแผนเดิม กระทรวงสาธารณสุขวางแผนจะเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนในเดือนมิถุนายน 2564 เป็นต้น แต่ตอนนี้ได้พยายามจัดการวัคซีนมาให้ได้ก่อนกำหนด เพราะเกิดการระบาดระลอก 2 เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา

3 รถบิ๊กไบค์ น่าขี่ สำหรับใครที่กำลังมองหารถจักรยานยนต์ที่มีความเร็วแรงสะใจ หรือมีสมรรถนะในการขับขี่ที่ค่อนข้างสูง พร้อมด้วยดีไซน์ที่เท่แข็งแกร่งทว่าโฉบเฉี่ยวขับขี่ได้คล่องตัวกว่าเดิมอยู่ล่ะก็ เราขอแนะนำ “รถบิ๊กไบค์” (Big-Bike) เลย ส่วนจะมีรุ่นอะไรน่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย